Sorry, your browser does not support JavaScript!
-
A A A
+
  • youtube
  • facebook
  • English Thai
ข่าวประชาสัมพันธ์ / ข่าวสำนักงาน กสม.
ข่าว View : 156
ครบรอบ“๒๐ ปี พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ๒๐ ปี ศักดิ์ศรีองแรงงานไทย”
         เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ “๒๐ ปี พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ๒๐ ปี ศักดิ์ศรีองแรงงานไทย” เป็นการทำบุญเพื่อระลึกถึงผู้นำแรงงานที่วายชนม์ ณ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เขตมักกะสัน กรุงเทพมหานคร
ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ได้กล่าวแสดงความยินดีและกล่าวถึงความสำคัญของแรงงานและบทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดังนี้
         “ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ ๒๐ ปี พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ที่ได้ยืนหยัดอยู่ข้างแรงงานมาโดยตลอด ที่นี่ทำให้รู้สึกถึงความต่อเนื่องของขบวนการแรงงาน ที่ยังขับเคลื่อนเรียกร้องสิทธิให้แก่แรงงานทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยก แม้วันนี้ขบวนการแรงงาน จะมีหลายกลุ่ม และยังไม่มีความเป็นเอกภาพเท่าที่ควรก็ตาม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ร่วมงานกับเครือข่ายแรงงานทั้งกรรมการชุดที่แล้ว และในชุดปัจจุบัน ก็ยังมีการขับเคลื่อนในประเด็นแรงงานอยู่ บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีทั้งการตรวจสอบกรณีร้องเรียน เกี่ยวกับแรงงาน ทั้งแรงงานในประเทศและแรงงานข้ามชาติ ซึ่งปัจจุบันไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าในประเทศไทยมีแรงงานข้ามชาติอยู่ในประเทศ มากมาย และยังไม่ได้รับสิทธิเท่าที่ควร และได้เสนอให้มีการรับรองอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ ซึ่งมีสาระสำคัญ ๓ประการ คือ ๑) คนงานและนายจ้างสามารถใช้สิทธิในการรวมตัวได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องได้รับ อนุญาตล่วงหน้าจากรัฐ ๒) เจ้าหน้าที่รัฐต้องละเว้นการแทรกแซงใดๆ ที่จะจำกัดสิทธิในการดำเนินกิจกรรมขององค์กรของทั้งลูกจ้างและนายจ้าง ๓) องค์กร (สหภาพแรงงาน) มีเสรีภาพในการเข้าร่วมองค์กรใดๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยเสรี
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความยินดีที่จะร่วมมือกับขบวนการแรงงานใน การเรียกร้อง และได้เสนอในรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศ (UPR) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ และขอให้มีการรับรองอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) แต่ว่ายังไม่เกิดอะไรขึ้น และเราจะช่วยผลักดันเรื่องนี้ต่อ เพราะอำนาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประการหนึ่ง คือ การเสนอแนะให้เกิดการผลักดันการแก้ไขปัญหาหรือนโยบาย หรือลงนามในอนุสัญญา ก็ขอเอาใจช่วย และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติยินดีจะให้ความร่วมมือกับกระบวนการแรงงาน ในการดำเนินงานต่อไป”
จากนั้นเป็นพิธีสงฆ์เพื่อระลึกถึงผู้นำแรงงานที่วายชนม์ และในช่วงบ่ายมีเวทีสาธารณะเกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานในประเทศไทย


© 2015 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ. All Right Reserved.
นโยบายเว็ปไซต์ | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์.

  ipv6 ready 
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด
5375965
คน
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
596
คน