Sorry, your browser does not support JavaScript!
-
A A A
+
  • youtube
  • facebook
  • English Thai
ข่าวประชาสัมพันธ์ / ข่าวสำนักงาน กสม.
ข่าว View : 132
กสม.จัดประชุมตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติต่อผู้ชุมนุม
กสม.จัดประชุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อสถานการณ์การชุมนุม
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556  นายแพทย์นิรันดร์  พิทักษ์วัชระ  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  ได้จัดการประชุมชี้แจงข้อเท็จจริง จากกรณีกลุ่มราชตระกูลรวมใจและกลุ่มเครือข่ายพลเมืองเฝ้าระวังความรุนแรงทางการเมือง เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ให้ตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อสถานการณ์การชุมนุมเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน  ที่ผ่านมา  โดยเชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)  สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  นักวิชาการ  และผู้ร้องมาร่วมให้ข้อเท็จจริง ณ ห้องประชุม 709 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ใน การประชุมดังกล่าว  นายแพทย์นิรันดร์  กล่าวสรุปว่า  เมื่อ กสม. ตรวจสอบและประสานกับหน่วยงานของรัฐในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนเพื่อ ต้องการให้รัฐได้รู้ว่ากระบวนการทำงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิ ในการชุมนุมและเสรีภาพในการแสดงความเห็นต่างในทางการเมือง  ซึ่งขณะนี้มีปัญหามากในสังคมไทยเมื่อมีการชุมนุมก็มีความรุนแรง สิ่งที่เป็นสิทธิของประชาชน รัฐต้องคุ้มครอง จึงสรุปว่า
1.  รัฐบาลต้องมีเจตจำนงที่ชัดเจนในการจัดการกับการชุมนุมในทางการเมือง การประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนที่ยื่นต่อครม.ในเรื่องของประเด็นที่เกี่ยวข้องในการประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง
2.  ความรับผิดชอบของรัฐบาลโดยผ่านหน่วยงานผู้ที่บังคับใช้กฎหมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีมาตรการที่จะป้องกันความรุนแรง  โดยมาตรา 29 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การบังคับใช้กฎหมายจะเกินเลยหรือกระทบสาระสำคัญของสิทธิมนุษยชนไม่ได้ ดังนั้นการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจปิดกั้นการให้น้ำให้ข้าว  การปิดกั้นการใช้ห้องน้ำ  ตั้งด่านตรวจ  แทนที่จะเป็นการดูแลในเรื่องของอาวุธร้ายแรงที่เข้าไปในพื้นที่ชุมนุม หรือการใช้เสียงไปรบกวนการชุมนุม  การดักฟังหรือตัดสัญญาณ หรือใช้มาตรการทางกฎหมายต่าง  ๆ เช่นมาตรา 116 และ 117 ซึ่งตำรวจต้องให้ความชัดเจนการในการกระทำดังกล่าว  ไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่สถานการณ์ร้ายแรง เพราะเกิดความไม่เข้าใจและไม่มั่นใจในรัฐที่จะเข้ามาดูแลในการชุมนุม
ทั้งนี้ภาคประชาสังคมหรือนักวิชาการได้มีความเห็นว่าท่าทีในการชุมนุม  แม้จะชุมนุมโดยสันติวิธีแต่การการแสดงออกโดยใช้คำพูดต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความเกลียดชังกัน  หรือการยั่วยุ  ก็ถือเป็นความรุนแรงอย่างหนึ่งที่จะต้องระมัดระวัง  ช่องว่างของหน่วยงานภาครัฐที่เข้ามาดูซึ่งต้องดูว่าทำอย่างไรที่จะช่วยลดช่องว่างการประสานงานระหว่างการชุมนุม 
ทั้งนี้ได้ฝากผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ช่วยชี้แจงมาด้วยว่ากำลังตำรวจหลายกองร้อยนั้นมาจากที่ไหน ได้ผ่านกระบวนการในการทำความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่  เรื่องการชุมนุมของประชาชนตำรวจที่มาดูแลต้องมีความรู้ความเข้าใจด้วย  ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดปรากฎการณ์ขอการใช้อำนาจ
เรื่องการแก้ไขการชุมนุมคนที่จะตอบโจทย์ได้ไม่ใช่ตำรวจแต่เป็นรัฐบาล  ตำรวจเป็นคนกลางที่ช่วยให้ประชาชนส่งเสียงไปยังรัฐบาลเพื่อให้รัฐบาลได้แก้ไขปัญหานี้
นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอซึ่งฝากไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งได้ประชุมกับกลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังความรุนแรงทางการเมือง 
1.        ตั้งกลุ่มอาสาสมัครสังเกตการณ์การชุมนุม
2.        ขอให้ช่วยคลี่คลายสถานการณ์ปัญหาความรุนแรง
3.        มาตรการทางกฎหมายที่จะบังคับใช้ มาตรา 116 และ 117


© 2015 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ. All Right Reserved.
นโยบายเว็ปไซต์ | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์.

  ipv6 ready 
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด
5376888
คน
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
1519
คน