-
A
A
A
+
-
A
A
A
+
Sorry, your browser does not support JavaScript!
Search for:
Sorry, your browser does not support JavaScript!
Sorry, your browser does not support JavaScript!
เกี่ยวกับเรา
คณะกรรมการ
ความเป็นมา
หน้าที่และอำนาจ
ประวัติคณะกรรมการ
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์และทิศทางการดำเนินงาน
สำนักงาน
ความเป็นมา
โครงสร้างสำนักงาน
ผู้บริหาร
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาพัสดุ
คู่มือและมาตรฐานการปฏิบัติงาน
แผนปฏิบัติการประจำปี ผลการปฏิบัติงาน คำรับรองการปฏิบัติราชการฯ และแผนพัฒนาหน่วยงาน
แผนงานต่างๆ
ผลการปฏิบัติงานต่างๆ
ค่านิยมองค์กร
มาตรฐานทางจริยธรรม
หน่วยตรวจสอบภายใน
เกี่ยวกับเรา
การดำเนินงาน
คณะกรรมการตรวจสอบ
กฎหมาย/ระเบียบ/หลักเกณฑ์
ดาวน์โหลด
เครื่องหมายราชการและความหมาย
ผลการดำเนินงาน
ข้อมูลสถิติที่น่าสนใจ
สถิติเรื่องร้องเรียน
สถิติเรื่องร้องเรียนปีล่าสุด
สถิติเรื่องร้องเรียนปีที่ผ่านมา
สถิติรายงานผลและการติดตาม
รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีต่างๆ
รายงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
รายงาน AICHR
รายงานคู่ขนานตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
รายงานตามกระบวนการ UPR
รายงานกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน/ผลการประชุมอื่นๆ
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
กสม. กับเหตุการณ์สำคัญ
แถลงการณ์
ข่าวประชาสัมพันธ์
จดหมายเปิดผนึก
รางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น
มติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านบริหาร
สรุปผลการประชุม/สัมมนา/เวทีทางวิชาการ/ระดมความเห็น/การฝึกอบรม
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
การประเมินสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
การเข้ารับการประเมินสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภายใต้กรอบความร่วมมือเครือข่ายพันธมิตรระดับโลกว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (Global Alliance of National Human Right
ข้อมูลที่ถูกต้องกรณีการลดสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
หลักการปารีส
พันธกรณีระหว่างประเทศ
แนวปฏิบัติ มาตรฐาน และกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
กรอบความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANF)
กรอบความร่วมมือในเอเชีย-แปซิฟิก (APF)
กรอบความร่วมมือในระดับโลก (ICC)
เอกสารเผยแพร่
บทความของ กสม.
สื่อแนะนำ
มุมมองสิทธิ์
สิทธิมนุษยชนศึกษา
วารสารกฎหมายสิทธิมนุษยชน
วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน
เอกสารอื่นๆ
สื่อด้านสิทธิมนุษยชน
วีดีโอเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
เพลงเพื่อสิทธิมนุษยชน
ความรู้/บทความวิชาการจากแหล่งต่าง ๆ
การรับเรื่องร้องเรียน / บริการประชาชน
E-services
ติดตามเรื่องร้องเรียน
แบบฟอร์มขอข้อมูลข่าวสารของราชการออนไลน์
แอปพลิเคชันมีสิทธิ์
ยื่นเรื่องร้องเรียนออนไลน์
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการร้องเรียน
ผังการปฏิบัติหน้าที่/กระบวนการตรวจสอบของ กสม.
ยื่นคำขอรับจดแจ้งองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและสภาวิชาชีพ
แจ้งข้อมูลสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
บริการของศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
เว็บไซต์เพื่อเป็นองค์กรแห่งธรรมาภิบาลและร่วมต่อต้านการทุจริต
ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
กฏหมาย
กฎหมายที่เปิดรับฟังความคิดเห็น
ประกาศรายชื่อกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบ
หนังสือกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566)
รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ
ประกาศองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
มาตรฐานและข้อกำหนดทางจริยธรรม
ระเบียบที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศเรื่อง การขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิ
แนวปฎิบัติที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คำสั่งที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ระเบียบที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ข้อบังคับที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ติดต่อเรา
Sorry, your browser does not support JavaScript!
ผลการดำเนินงาน
กสม. กับเหตุการณ์สำคัญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
กสม. แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2565 กสม. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นกรณีการกำหนดให้โรคจิต/โ
ผลการดำเนินงาน
View : 120
กสม. แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2565 กสม. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นกรณีการกำหนดให้โรคจิต/โรคอารมณ์ผิดปกติเป็นลักษณะต้องห้ามของการเข้ารับราชการพลเรือน ห่วงปัญหาการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนพิการทางจิตสังคม - แนะรัฐออกกฎหมายควบคุมการใช้กัญชาอย่างไม่เหมาะสม คุ้มครองสิทธิสุขภาพและสิทธิเด็ก
วันที่ 20 ตุลาคม 2565 เวลา 10.30 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ และนางสาวสุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ครั้งที่ 37/2565 โดยมีวาระสำคัญดังนี้
1. กสม. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นกรณีการกำหนดให้โรคจิต/โรคอารมณ์ผิดปกติเป็นลักษณะต้องห้ามของการเข้ารับราชการพลเรือน ห่วงปัญหาการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนพิการทางจิตสังคม
นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 เห็นชอบร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) เสนอปรับปรุงกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจโรคจิตหรือโรคอารมณ์ผิดปกติโดยคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ก่อนประกาศราชกิจจานุเบกษา สำหรับสาระสำคัญของร่างกฎ ก.พ.ดังกล่าวมีการยกเลิก “โรควัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ” ซึ่งเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ออกจากลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการพลเรือน ขณะที่มีการเสนอให้โรคจิต (psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (mood disorders) ที่มีอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรังและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นลักษณะต้องห้าม ซึ่งต่อมาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ กรณีการแก้ไขร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรคดังกล่าวว่าอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิในการเข้าถึงการมีงานทำของกลุ่มคนพิการทางจิตสังคม และกลุ่มผู้ป่วยโรคจิตและโรคอารมณ์ผิดปกติ และอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดและตีตราว่าบุคคลเหล่านี้ไม่สามารถทำงานได้ อันนำไปสู่การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความพิการหรือสุขภาพ
ด้วยเหตุนี้ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2565 กสม. จึงได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อกรณีการกำหนดให้โรคจิต หรือโรคอารมณ์ผิดปกติเป็นลักษณะต้องห้ามของการเข้ารับราชการพลเรือน โดยมีผู้แทนสำนักงาน ก.พ. ผู้แทนหน่วยงานด้านสุขภาพจิต คณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการ วุฒิสภา และภาคีเครือข่ายคนพิการร่วมให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะ
ผลจากการประชุมหารือปรากฏรายงานข้อเท็จจริงยืนยันว่า กลุ่มคนพิการทางจิตสังคม และกลุ่มผู้ป่วยทางจิตเวชฯ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและหายขาดจากโรคได้ หากได้รับการบำบัดรักษาฟื้นฟูต่อเนื่อง และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ปฏิบัติงานได้ ในทางกลับกันร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... กลับมิได้ระบุลักษณะของโรคร้ายแรงอื่นที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือเรื้อรังและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ไว้ด้วย ดังนั้น การระบุชื่อ “โรคจิตหรือโรคอารมณ์ผิดปกติ” ไว้เป็นการเฉพาะ จึงเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความพิการหรือสุขภาพ และอาจเป็นการเปิดช่องให้มีการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน อันส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการประกอบอาชีพของกลุ่มคนพิการทางจิตสังคม และกลุ่มผู้ป่วยทางจิตเวช โรคจิตฯ ซึ่งขัดแย้งกับนโยบายการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการในหน่วยงานของรัฐ และไม่สอดคล้องตามหลักการไม่เลือกปฏิบัติดังที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (CRPD) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีให้การรับรอง
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นว่า การระบุให้โรคจิตหรือโรคอารมณ์ผิดปกติเป็นลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการพลเรือน อาจส่งผลให้กลุ่มคนพิการทางจิตสังคม และกลุ่มผู้ป่วยทางจิตเวชฯ ปฏิเสธการเข้าสู่กระบวนการรักษา และทำให้สถานการณ์ความเจ็บป่วยทางจิตเวชในสังคมมีความรุนแรงมากขึ้น
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวต่อไปว่า ในเบื้องต้นที่ประชุมจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ข้อ 4.2 โดยนำชื่อ “โรคจิต (psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (mood disorders)” ออกจากร่าง กฎ ก.พ. ดังกล่าว และนำข้อความใน กฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 ข้อ (5) “โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามที่ ก.พ. กำหนด” มาใช้ ซึ่งมีความครอบคลุมโรคโดยรวมแล้ว และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานอย่างแท้จริงได้ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอให้สำนักงาน ก.พ. ศึกษาและพัฒนาระบบการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลด้วยเหตุแห่งความพิการหรือสุขภาพ
“การกำหนดให้โรคจิตหรือโรคอารมณ์ผิดปกติที่มีอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรังเป็นลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการพลเรือน ต้องคำนึงถึงสิทธิของคนพิการ ซึ่งรวมถึงสิทธิของผู้ป่วยทางจิตเวช โรคจิต และโรคอารมณ์ผิดปกติ โดยเฉพาะประเด็นสิทธิในการทำงาน สิทธิในโอกาสที่จะหาเลี้ยงชีพโดยงานซึ่งตนเลือกหรือรับอย่างเสรี รวมถึงการที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสุขภาพด้วย ทั้งนี้ กสม. จะรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้เสนอต่อนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการ ก.พ. ต่อไป” นายวสันต์ กล่าว
2. กสม. แนะรัฐออกกฎหมายควบคุมการใช้กัญชา คุ้มครองสิทธิสุขภาพและสิทธิเด็ก หวั่นผลกระทบจากการบริโภคกัญชาที่ไม่เหมาะสม
นางสาวสุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 กำหนดให้สามารถนำกัญชาไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ และต่อมามีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 ส่งผลให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 และไม่อยู่ภายใต้มาตรการควบคุมการใช้สารเสพติด ยกเว้นสารสกัดที่มีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol: THC) เกินร้อยละ 0.2 โดยนับแต่ประกาศฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นมา มีรายงานการใช้กัญชานอกเหนือจากการใช้ทางการแพทย์ และรายงานผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการใช้กัญชาออกมาเป็นระยะ ทำให้หลายภาคส่วนมีความห่วงกังวลถึงผลกระทบจากการใช้กัญชา โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน สตรีตั้งครรภ์ และบุคคลที่มีโรคประจำตัวบางโรค เนื่องจากสาร THC ในกัญชามีผลต่อสมองเด็กและพัฒนาการของเด็กในระยะยาว รวมถึงผลกระทบในด้านอื่น ๆ เช่น ความปลอดภัยในการขับขี่ยานพาหนะหรือการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรหลังการใช้กัญชาซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ โดยขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการจัดทำกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากการใช้กัญชา กัญชง ที่ไม่เหมาะสมและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า การกำหนดให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ซึ่งประชาชนสามารถเข้าถึงการบริโภคกัญชาได้อย่างแพร่หลาย และมีรายงานการใช้กัญชาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิเด็ก จึงได้จัดการประชุมหารือและรับฟังความคิดเห็น เรื่องสิทธิด้านสุขภาพกับสถานการณ์การใช้กัญชาในประเทศไทยขึ้น เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 โดยมีผู้แทนจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี มูลนิธิเมาไม่ขับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สถาบันกัญชาทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วม เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นการใช้ประโยชน์จากกัญชา การใช้กัญชาในทางการแพทย์ ผลกระทบด้านสุขภาพ มาตรการควบคุมการใช้กัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชา
เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์การใช้กัญชา บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องและหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว กสม. เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 55 และมาตรา 61 กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ต้องเสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค รวมทั้งต้องจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคด้านต่าง ๆ เช่น การรับรู้ข้อมูลที่เป็นจริง และความปลอดภัยในการบริโภค นอกจากนี้ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กยังกำหนดให้รัฐภาคีต้องดำเนินมาตรการที่เหมาะสมในการคุ้มครองเด็กจากการใช้โดยผิดกฎหมายซึ่งยาเสพติด รวมทั้งสารที่มีพิษต่อจิตประสาทอื่น ๆ ด้วย สำหรับกรณีการคุ้มครองผู้บริโภคโดยเฉพาะเด็กเยาวชน และสตรีตั้งครรภ์ จากการใช้กัญชา นั้น กสม. เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการกำหนดมาตรการและออกกฎหมายลำดับรองเพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากการใช้กัญชาหลายฉบับ แต่มาตรการส่วนใหญ่ไม่มีกลไกบังคับใช้ที่ชัดเจนและไม่ครอบคลุมเพียงพอที่จะสามารถป้องกันผลกระทบจากการใช้หรือการบริโภคกัญชาหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาได้อย่างมีประสิทธิผล นอกจากนี้จากการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การใช้กัญชา ปรากฏรายงานผลกระทบจากการใช้กัญชาของประชาชน รวมถึงเด็กและเยาวชนผ่านทางสื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อันสะท้อนให้เห็นถึงการขาดความรู้ความเข้าใจและการได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอต่อการใช้กัญชาอย่างปลอดภัยด้วย
ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิในการมีสุขภาพที่ดีและหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการใช้กัญชาที่ไม่ปลอดภัย กสม. จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งข้อเสนอแนะในการจัดทำกฎหมายกรณีดังกล่าวต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี สรุปได้ดังนี้
1. ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
คณะรัฐมนตรีควรมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสุขภาพตามประกาศต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิผล เช่น การปกป้องคุ้มครองเด็กเยาวชน สตรีตั้งครรภ์หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร และบุคคลที่มีความเปราะบางด้านสุขภาพ การควบคุมการผลิตและจำหน่ายหรือใช้กัญชา กัญชงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งปริมาณกัญชา กัญชงที่ใช้ในอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ การควบคุมลักษณะบรรจุภัณฑ์และฉลากต้องไม่มีลักษณะจูงใจเด็กและเยาวชนในการบริโภค ผลิตภัณฑ์ต้องให้ข้อมูลส่วนผสมของกัญชา กัญชง โดยละเอียด เป็นต้น
นอกจากนี้ ควรมีการพัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กัญชา กัญชงเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ กำหนดมาตรการส่งเสริมและควบคุมคุณภาพการปลูกกัญชา กัญชงเพื่อความปลอดภัย รวมทั้งพัฒนากลไกการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การใช้กัญชา กัญชงและผลกระทบในด้านสุขภาพทั้งในสถานพยาบาล สถานศึกษาและชุมชน รวมทั้งเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินสถานการณ์การใช้กัญชา กัญชงเป็นระยะ โดยสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการควบคุมการปลูกและการใช้ประโยชน์จากกัญชา
2. ข้อเสนอแนะในการจัดทำกฎหมาย
รัฐสภาควรพิจารณาให้มีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่รวบรวมมาตรการเกี่ยวกับการใช้กัญชา กัญชงให้อยู่ในฉบับเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนที่ต้องการใช้กัญชา กัญชงและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งต้องบังคับใช้กฎหมายเข้าถึงมาตรการที่กำหนดได้โดยง่าย และควรพิจารณาให้มีมาตรการในการคุ้มครองด้านสุขภาพและควบคุมการใช้กัญชา กัญชงในกฎหมาย เช่น การควบคุมผลิตภัณฑ์กัญชา กัญชงหรือสารสกัดที่ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ให้มีสาร THC ในปริมาณที่เหมาะสม การควบคุมบรรจุภัณฑ์และฉลากผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องมีการให้ข้อมูลและคำเตือนด้านสุขภาพ การกำหนดห้ามโฆษณาเพื่อขาย/วางจำหน่าย การกำหนดพื้นที่ห้ามสูบกัญชาและบทกำหนดโทษ
นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีควรมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงคมนาคมปรับปรุงกฎหมายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้กัญชา กัญชง เช่น กำหนดระดับของการสูบหรือบริโภคกัญชาที่ห้ามขับขี่ยานพาหนะและการห้ามทำงานกับเครื่องจักร ทำงานในที่สูง หรือทำงานในลักษณะอื่นที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ การกำหนดให้มีการตรวจจับระดับการสูบ/บริโภคกัญชาขณะขับขี่ยานพาหนะเช่นเดียวกับการตรวจจับแอลกอฮอล์ รวมทั้งพัฒนากฎหมายห้ามการขับขี่ยานพาหนะ และการทำงานกับเครื่องจักรในลักษณะอื่นที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุในขณะที่บริโภคกัญชา กัญชงไว้เป็นการเฉพาะ
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
20 ตุลาคม 2565
20-10-65-Press-release-แถลงข่าว-37-2565_.pdf
20/10/2565
เอกสารประกอบ :
20-10-65-Press-release-แถลงข่าว-37-2565_.pdf
Sorry, your browser does not support JavaScript!
© 2015 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ. All Right Reserved.
นโยบายเว็ปไซต์
|
นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์
.
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด
4900552
คน
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
1440
คน
Sorry, your browser does not support JavaScript!
เกี่ยวกับเรา
1.1 คณะกรรมการ
1.1.1 ประวัติความเป็นมา
1.1.2 อำนาจหน้าที่
1.1.3 ประวัติคณะกรรมการ (ชุดปัจจุบัน)
1.2 คณะอนุกรรมการ
1.2.1 โครงสร้างคณะอนุกรรมการ
1.2.2 คณะอนุกรรมการชุดต่างๆ
1.2.3 ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ
1.3 สำนักงาน
1.3.1 โครงสร้างสำนักงาน
1.3.2 ผู้บริหาร
1.3.3 ประกาศแบ่งส่วนราชการ
1.3.4 วิสัยทัศน์ พันธกิจและแผนยุทธศาสตร์
1.3.5 ระเบียบและประกาศ กสม.
1.3.6 ประมวลจริยธรรม
1.3.7 ข้อมูลตาม พรบ.ข่าวสารของราชการ
1.3.8 ตราสัญลักษณ์และความหมาย
ผลการดำเนินงาน
2.1. ข้อมูลสถิติที่น่าสนใจ
2.1.1. สถิติการรับเรื่องร้องเรียน
2.1.2. สถิติการติดตามการดำเนินงานตามรายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
2.1.3. (สถิติอื่นๆ)
2.2. รายงานผลการตรวจสอบที่น่าสนใจ
2.2.1 รายงานผลการพิจารณา/ประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
2.2.2 มีมาตรการแก้ไข
2.2.3 มีมาตรการแก้ไขและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
2.2.4 มีมาตรการแก้ไขและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
2.2.5 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย (และมติคณะรัฐมนตรีต่อ ข้อเสนอแนะ)
2.2.6 มีมาตรการแก้ไข ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
2.3. ผลการติดตามการดำเนินงานตามรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
2.3.1 มาตรการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชน
2.3.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
2.3.3 ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย
2.4. ผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
2.4.1 รายงานการติดตามการปฎิบัติตามพันธะกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
2.4.2 ผลการประชุมในต่างประเทศ
2.5. แถลงการณ์/ข่าวแจก/จดหมายเปิดผนึก
2.6. รายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
2.7. มติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านการบริหาร
2.8. สรุปผลการประชุม/สัมมนา/เวทีทางวิชาการ/ระดมความเห็น/การฝึกอบรม
2.9. รางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น
2.10. กสม ฟอรั่ม
ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
3.1 กฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน
3.1.1 ธรรมนูญ
3.1.2 พระราชบัญญัติ / พระราชกฤษฎีกา
3.1.3 กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน
3.2 สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
3.2.1 แนวปฎิบัติ มาตรฐาน และกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
3.2.2 กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
3.3 เอกสารเผยแพร่
3.3.1 บทความของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
3.3.2 สื่อสิงพิพ์
3.3.3 งานศึกษา / งานวิจัย
3.3.4 มุมมองสิทธิ์
3.3.5 เอกสารอื่นๆ
3.4 สื่อด้านสิทธิมนุษยชน
3.4.1 วีดีโอเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
3.4.2 เพลงเพื่อสิทธิมนุษยชน
3.4.3 ผังรายการส่งเสริมความรู้สิทธิมนุษยชน
3.4.4 เสียงสัมมนาที่น่าสนใจ
การรับเรื่องร้องเรียน / บริการประชาชน
4.1 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการร้องเรียน
4.2 ผังการปฏิบัติหน้าที่/กระบวนการตรวจสอบของ กสม.
4.3 รับเรื่องร้องเรียนออนไลน์
4.4 ติดตามเรื่องร้องเรียน
4.5 คำถามที่พบบ่อย
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศและต่างประเทศ
ข่าวสมัครงาน
ข่าวกิจกรรม
ติดตามข่าวสาร
Facebook
Youtube
ติดต่อเรา
ติดต่อเรื่องทั่วไป
รับเรื่องร้องเรียน
ติชมเว็บไซต์/แลกลิ้งค์
แผนที่
สมัครรับข่าวสารทางอีเมล
เกี่ยวกับเรา
คณะกรรมการ
ความเป็นมา
หน้าที่และอำนาจ
ประวัติคณะกรรมการ
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์และทิศทางการดำเนินงาน
สำนักงาน
ความเป็นมา
โครงสร้างสำนักงาน
ผู้บริหาร
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาพัสดุ
คู่มือและมาตรฐานการปฏิบัติงาน
แผนปฏิบัติการประจำปี ผลการปฏิบัติงาน คำรับรองการปฏิบัติราชการฯ และแผนพัฒนาหน่วยงาน
แผนงานต่างๆ
ผลการปฏิบัติงานต่างๆ
ค่านิยมองค์กร
มาตรฐานทางจริยธรรม
หน่วยตรวจสอบภายใน
เกี่ยวกับเรา
การดำเนินงาน
คณะกรรมการตรวจสอบ
กฎหมาย/ระเบียบ/หลักเกณฑ์
ดาวน์โหลด
เครื่องหมายราชการและความหมาย
ผลการดำเนินงาน
ข้อมูลสถิติที่น่าสนใจ
สถิติเรื่องร้องเรียน
สถิติเรื่องร้องเรียนปีล่าสุด
สถิติเรื่องร้องเรียนปีที่ผ่านมา
สถิติรายงานผลและการติดตาม
รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีต่างๆ
รายงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
รายงาน AICHR
รายงานคู่ขนานตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
รายงานตามกระบวนการ UPR
รายงานกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน/ผลการประชุมอื่นๆ
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
กสม. กับเหตุการณ์สำคัญ
แถลงการณ์
ข่าวประชาสัมพันธ์
จดหมายเปิดผนึก
รางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น
มติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านบริหาร
สรุปผลการประชุม/สัมมนา/เวทีทางวิชาการ/ระดมความเห็น/การฝึกอบรม
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
การประเมินสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
การเข้ารับการประเมินสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภายใต้กรอบความร่วมมือเครือข่ายพันธมิตรระดับโลกว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (Global Alliance of National Human Right
ข้อมูลที่ถูกต้องกรณีการลดสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
หลักการปารีส
พันธกรณีระหว่างประเทศ
แนวปฏิบัติ มาตรฐาน และกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
เอกสารเผยแพร่
บทความของ กสม.
สื่อแนะนำ
มุมมองสิทธิ์
สิทธิมนุษยชนศึกษา
วารสารกฎหมายสิทธิมนุษยชน
วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน
เอกสารอื่นๆ
สื่อด้านสิทธิมนุษยชน
วีดีโอเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
เพลงเพื่อสิทธิมนุษยชน
ความรู้/บทความวิชาการจากแหล่งต่าง ๆ
การรับเรื่องร้องเรียน / บริการประชาชน
E-services
ติดตามเรื่องร้องเรียน
แบบฟอร์มขอข้อมูลข่าวสารของราชการออนไลน์
แอปพลิเคชันมีสิทธิ์
ยื่นเรื่องร้องเรียนออนไลน์
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการร้องเรียน
ผังการปฏิบัติหน้าที่/กระบวนการตรวจสอบของ กสม.
ยื่นคำขอรับจดแจ้งองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและสภาวิชาชีพ
แจ้งข้อมูลสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
บริการของศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
เว็บไซต์เพื่อเป็นองค์กรแห่งธรรมาภิบาลและร่วมต่อต้านการทุจริต
ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
กฏหมาย
กฎหมายที่เปิดรับฟังความคิดเห็น
ประกาศรายชื่อกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบ
หนังสือกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566)
รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ
ประกาศองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
มาตรฐานและข้อกำหนดทางจริยธรรม
ระเบียบที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศเรื่อง การขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิ
แนวปฎิบัติที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คำสั่งที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ระเบียบที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ข้อบังคับที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ข่าว
ข่าว กสม.
ข่าวกิจกรรมสำคัญและงานกิจกรรมพิเศษ
ข่าวประชาสัมพันธ์ / ข่าวสำนักงาน กสม.
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างรายเดือน (สขร.1)
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างรายปี
ข่าวสมัครงาน
ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงิน
ติดต่อเรา
Sorry, your browser does not support JavaScript!