-
A
A
A
+
-
A
A
A
+
Sorry, your browser does not support JavaScript!
Search for:
Sorry, your browser does not support JavaScript!
Sorry, your browser does not support JavaScript!
เกี่ยวกับเรา
คณะกรรมการ
ความเป็นมา
หน้าที่และอำนาจ
ประวัติคณะกรรมการ
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์และทิศทางการดำเนินงาน
สำนักงาน
ความเป็นมา
โครงสร้างสำนักงาน
ผู้บริหาร
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาพัสดุ
คู่มือและมาตรฐานการปฏิบัติงาน
แผนปฏิบัติการประจำปี ผลการปฏิบัติงาน คำรับรองการปฏิบัติราชการฯ และแผนพัฒนาหน่วยงาน
แผนงานต่างๆ
ผลการปฏิบัติงานต่างๆ
ค่านิยมองค์กร
มาตรฐานทางจริยธรรม
หน่วยตรวจสอบภายใน
เกี่ยวกับเรา
การดำเนินงาน
คณะกรรมการตรวจสอบ
กฎหมาย/ระเบียบ/หลักเกณฑ์
ดาวน์โหลด
เครื่องหมายราชการและความหมาย
ผลการดำเนินงาน
ข้อมูลสถิติที่น่าสนใจ
สถิติเรื่องร้องเรียน
สถิติเรื่องร้องเรียนปีล่าสุด
สถิติเรื่องร้องเรียนปีที่ผ่านมา
สถิติรายงานผลและการติดตาม
รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีต่างๆ
รายงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
รายงาน AICHR
รายงานคู่ขนานตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
รายงานตามกระบวนการ UPR
รายงานกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน/ผลการประชุมอื่นๆ
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
กสม. กับเหตุการณ์สำคัญ
แถลงการณ์
ข่าวประชาสัมพันธ์
จดหมายเปิดผนึก
รางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น
มติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านบริหาร
สรุปผลการประชุม/สัมมนา/เวทีทางวิชาการ/ระดมความเห็น/การฝึกอบรม
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
การประเมินสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
การเข้ารับการประเมินสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภายใต้กรอบความร่วมมือเครือข่ายพันธมิตรระดับโลกว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (Global Alliance of National Human Right
ข้อมูลที่ถูกต้องกรณีการลดสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
หลักการปารีส
พันธกรณีระหว่างประเทศ
แนวปฏิบัติ มาตรฐาน และกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
กรอบความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANF)
กรอบความร่วมมือในเอเชีย-แปซิฟิก (APF)
กรอบความร่วมมือในระดับโลก (ICC)
เอกสารเผยแพร่
บทความของ กสม.
สื่อแนะนำ
มุมมองสิทธิ์
สิทธิมนุษยชนศึกษา
วารสารกฎหมายสิทธิมนุษยชน
วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน
เอกสารอื่นๆ
สื่อด้านสิทธิมนุษยชน
วีดีโอเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
เพลงเพื่อสิทธิมนุษยชน
ความรู้/บทความวิชาการจากแหล่งต่าง ๆ
การรับเรื่องร้องเรียน / บริการประชาชน
E-services
ติดตามเรื่องร้องเรียน
แบบฟอร์มขอข้อมูลข่าวสารของราชการออนไลน์
แอปพลิเคชันมีสิทธิ์
ยื่นเรื่องร้องเรียนออนไลน์
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการร้องเรียน
ผังการปฏิบัติหน้าที่/กระบวนการตรวจสอบของ กสม.
ยื่นคำขอรับจดแจ้งองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและสภาวิชาชีพ
แจ้งข้อมูลสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
บริการของศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
เว็บไซต์เพื่อเป็นองค์กรแห่งธรรมาภิบาลและร่วมต่อต้านการทุจริต
ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
กฏหมาย
กฎหมายที่เปิดรับฟังความคิดเห็น
ประกาศรายชื่อกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบ
หนังสือกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566)
รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ
ประกาศองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
มาตรฐานและข้อกำหนดทางจริยธรรม
ระเบียบที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศเรื่อง การขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิ
แนวปฎิบัติที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คำสั่งที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ระเบียบที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ข้อบังคับที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ติดต่อเรา
Sorry, your browser does not support JavaScript!
ผลการดำเนินงาน
กสม. กับเหตุการณ์สำคัญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
กสม. แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2565 กสม. แนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกหลักเกณฑ์คุ้มครองสิทธ
ผลการดำเนินงาน
View : 54
กสม. แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2565 กสม. แนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกหลักเกณฑ์คุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของนักศึกษาระหว่างการฝึกงาน - ประสานแก้ปัญหากรณีผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทยพื้นที่ จ.ระนองประสบปัญหาความล่าช้าในการขอคืนรายการทะเบียนราษฎร แนะเร่งสนับสนุนอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่
วันที่ 6 ตุลาคม 2565 เวลา 10.30 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ และนางปรีดา คงแป้น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ครั้งที่ 36/2565 โดยมีวาระสำคัญดังนี้
1. กสม. แนะคณะกรรมการการอาชีวศึกษา-กระทรวงการอุดมศึกษาฯ-กระทรวงแรงงาน ออกหลักเกณฑ์คุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของนักศึกษาระหว่างการฝึกงาน
นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนจากเครือข่ายยุวพัฒนาสังคม (Social Fix) เมื่อเดือนมีนาคม 2565 ระบุว่า พบปัญหาการละเมิดสิทธิและสวัสดิภาพของนักเรียน นิสิต นักศึกษาระหว่างการฝึกงาน เช่น การล่วงละเมิดทางเพศ การเกิดอุบัติเหตุระหว่างการฝึกงาน การเจ็บป่วยจากการฝึกงาน และการให้ฝึกงานเกินกว่าเวลาที่กฎหมายแรงงานกำหนด โดยปัญหาดังกล่าวมีหลายหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง แต่กลับไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องคุ้มครองนักเรียน นิสิต นักศึกษาฝึกงานเป็นการเฉพาะ ประกอบกับการดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายตามกฎหมายทั่วไปใช้เวลานาน และไม่ครอบคลุมอุบัติเหตุหลายกรณีที่เกี่ยวข้องกับการฝึกงาน จึงขอให้ตรวจสอบ
กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีตามคำร้องเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนซึ่งรวมถึงกลุ่มผู้เรียนที่เป็นเด็ก โดยที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ได้ให้การรับรองสิทธิของทุกคนในการศึกษาที่มุ่งให้เกิดการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์และความสำนึกในศักดิ์ศรีของตนอย่างบริบูรณ์ และจะต้องเพิ่มพูนการเคารพในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม การดำเนินการเพื่อให้บุคคลได้เข้าถึงสิทธิในการศึกษาตลอดจนสิทธิในการได้รับคำแนะนำทางเทคนิควิชาชีพในเด็กจะต้องคำนึงถึงสิทธิของเด็กเป็นสำคัญโดยเฉพาะสิทธิที่จะได้มีเวลาพักผ่อน ได้มีเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นทางสันทนาการที่เหมาะสมตามวัย ดังที่ได้รับการรับรองไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) ซึ่งรัฐมีหน้าที่ดำเนินการ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล
กสม. เห็นว่า แม้การฝึกงานซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะของผู้เรียน จะไม่ใช่นิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามสัญญาการจ้างงานซึ่งอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายแรงงาน แต่สถานประกอบการยังคงมีหน้าที่จัดสภาพการทำงานให้มีความปลอดภัยเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้ฝึกงานตามกฎหมาย ประกอบกับกรณีการฝึกงานในลักษณะการฝึกอบรมฝีมือแรงงานก็จะต้องจัดสวัสดิการให้กับผู้เข้ารับการฝึกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงแรงงานเช่นกัน ขณะที่สถานศึกษาก็เป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ควบคุมและประสานงานกับสถานประกอบการในการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของนักศึกษา โดยเฉพาะกรณีการจัดให้มีสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ สิทธิในการได้รับการพักผ่อน เวลาว่างและข้อจำกัดที่สมเหตุผลในเรื่องเวลาด้วย
จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่า การจัดการฝึกงาน ฝึกอาชีพ และฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษาในปัจจุบันพบว่าในระดับการอาชีวศึกษามีเพียงแนวปฏิบัติการดำเนินการฝึกงาน และมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลให้การจัดการฝึกงาน หรือฝึกอาชีพในการเรียนการสอนระดับการอาชีวศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร โดยมีสาระเพียงบางส่วนที่ได้กำหนดถึงการให้ความคุ้มครองสวัสดิภาพของนักเรียน นักศึกษาในระหว่างการฝึกงานเท่านั้น เช่นเดียวกันกับกรณีการฝึกงาน หรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพในระดับการอุดมศึกษาซึ่งแม้จะมีคู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่จัดทำโดยสถาบันการศึกษา แต่ก็มิได้กำหนดแนวทางการคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้เรียนในระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หรือฝึกงานตามหลักสูตรสหกิจศึกษาเป็นการเฉพาะ
อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์การฝึกงานหลักสูตรการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานประกอบการ พ.ศ. 2565 เพื่อกำหนดข้อปฏิบัติในการดูแลและคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้เรียนในระหว่างการฝึกงานและฝึกอบรมวิชาชีพ โดยอยู่ระหว่างการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ประกอบกับผู้ร้องได้ร้องเรียนเรื่องนี้ไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินให้พิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วยแล้ว ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีมติให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดทำหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานการส่งนักศึกษาที่เข้ารับการฝึกงานในสถานประกอบการเพื่อให้นักศึกษาได้รับการคุ้มครองในระหว่างการฝึกงาน และให้กระทรวงแรงงาน และกรมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นหน่วยงานสนับสนุนข้อมูลการดำเนินการของผู้ประกอบการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดดังกล่าว กรณีดังกล่าวจึงถือว่ามีการดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมแล้ว
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2565 จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไปยังคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รวมทั้งกระทรวงแรงงาน เพื่อคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของนักเรียน นิสิต นักศึกษาระหว่างการฝึกงาน สรุปได้ดังนี้
(1) ให้คณะกรรมการการอาชีวศึกษา เร่งดำเนินการให้มีการประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การฝึกงานหลักสูตรการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพ ในสถานประกอบการ พ.ศ. 2565 ตลอดทั้งควบคุมให้สถานศึกษาและสถาบันอาชีวศึกษาปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มผู้เรียนเด็ก ซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี
(2) ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กำหนดมาตรการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของนิสิต นักศึกษาในระหว่างฝึกงานเป็นการเฉพาะ กำหนดช่องทางรับเรื่องร้องเรียน และมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยานิสิต นักศึกษา ที่ได้รับผลกระทบจากการฝึกงานในสภาพการฝึกงานที่ไม่เหมาะสม หรือถูกละเมิดต่อสิทธิและสวัสดิภาพ โดยการดำเนินการกำหนดมาตรการดังกล่าวควรรับฟังความเห็นจากนิสิต นักศึกษา และผู้ที่มีประสบการณ์การฝึกงานด้วย
(3) ให้กระทรวงแรงงานกำชับให้กรมการจัดหางาน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงานควบคุม กำกับการดำเนินการของสถานประกอบการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในการฝึกงานที่ได้มีการปรับปรุงตามหนังสือกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่ รง 0502/ว6417 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2562
2. กสม. ประสานสำนักทะเบียนอำเภอเมืองระนอง กรณีผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทยประสบปัญหาความล่าช้าในการขอคืนรายการทะเบียนราษฎร แนะกรมการปกครองเร่งสนับสนุนอัตรากำลังการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
นางปรีดา คงแป้น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทยรายหนึ่ง ระบุว่า ตนและน้องสาวเป็นผู้มีรายการทะเบียนประวัติบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน เมื่อปี 2557 ได้ทราบว่ารายชื่อของตนและน้องสาวถูกสำนักทะเบียนอำเภอเมืองระนอง (ผู้ถูกร้อง) จำหน่ายออกจากรายการทะเบียนราษฎรเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 จึงติดต่อไปยังสำนักทะเบียนฯ เพื่อขอคืนรายการทะเบียนราษฎร ซึ่งสำนักทะเบียนฯ ได้ให้ผู้ร้องและน้องสาวยื่นคำขอคืนรายการทะเบียนราษฎร โดยได้รับลำดับที่ 405 และ 406 แต่เมื่อผู้ร้องติดตามทวงถามผลการดำเนินการดังกล่าว กลับได้รับแจ้งว่ายังไม่ถึงลำดับของผู้ร้องและน้องสาว ซึ่งเห็นว่าเป็นการดำเนินการที่ล่าช้ามาถึง 8 ปี จึงขอความช่วยเหลือ
กสม. ได้พิจารณาข้อเท็จจริงเบื้องต้นแล้วเห็นว่า เรื่องดังกล่าวเป็นกรณีเกี่ยวกับสิทธิและสถานะบุคคล ซึ่งได้รับการรับรองและคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) แต่เนื่องจากเห็นว่าการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวสามารถดำเนินการอย่างรวดเร็วได้ด้วยการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง เมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 จึงได้ส่งเรื่องไปยังสำนักทะเบียนอำเภอเมืองระนอง ผู้ถูกร้อง เพื่อขอทราบผลการดำเนินงาน
ต่อมา ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน 2565 สำนักงาน กสม. ได้รับแจ้งผลการดำเนินงานและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องจากสำนักทะเบียนอำเภอเมืองระนอง สรุปได้ว่า สำนักทะเบียนฯ อยู่ระหว่างเร่งรัดการดำเนินการขอคืนรายการทะเบียนราษฎรเพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะต้องมีการสอบสวนข้อเท็จจริงด้านคุณสมบัติของผู้ขอคืนรายการ ตลอดจนต้องเรียกพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือมาสอบถามอย่างครบถ้วนและรอบคอบ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบและหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี เมื่อปี 2554 มีผู้ถูกจำหน่ายรายการทะเบียนราษฎรจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงผู้ร้องและน้องสาวได้มาลงทะเบียนยื่นขอคืนรายการทะเบียนราษฎรไว้แล้ว แต่เนื่องจากจังหวัดระนองมีกลุ่มเป้าหมายหรือผู้แจ้งความประสงค์ขอคืนรายการทะเบียนราษฎรจำนวนมาก ประกอบกับอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอกับปริมาณคำขอ ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการ โดยปัจจุบันสามารถดำเนินการถึงลำดับที่ 200 โดยประมาณ ซึ่งสำนักทะเบียนฯ ได้มีหนังสือแจ้งข้อเท็จจริงกรณีขอให้เร่งรัดการขอคืนรายการทะเบียนราษฎรดังกล่าวให้ผู้ร้องทราบแล้ว
กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 ได้พิจารณาข้อเท็จจริงและการดำเนินงานข้างต้นแล้วเห็นว่า สำนักทะเบียนอำเภอเมืองระนองได้ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ ด้วยการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีขอให้เร่งรัดการขอคืนรายการทะเบียนราษฎรให้แก่ผู้ร้องและน้องสาวของผู้ร้อง อันเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ร้องตามสมควรแก่กรณีแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อติดขัดที่ทำให้ล่าช้าและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 16 ได้ให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิและสถานะบุคคลว่า บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลตามกฎหมายในทุกแห่งหน ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน จึงเห็นควรแจ้งไปยังสำนักทะเบียนอำเภอเมืองระนอง ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจ เพื่อให้มีหนังสือแจ้งความคืบหน้าการดำเนินการขอคืนรายการทะเบียนราษฎรให้ผู้ร้องทราบ พร้อมทั้งแจ้งไปยังกรมการปกครองเพื่อเร่งรัดและสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักทะเบียนอำเภอเมืองระนองต่อไปด้วย
“เมื่อเดือนตุลาคม 2562 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบคำมั่นของไทยสำหรับการประชุมระดับสูงว่าด้วยความไร้รัฐ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งถ้อยแถลงส่วนหนึ่งระบุถึงการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบที่จะอำนวยความสะดวกให้คนไร้รัฐไร้สัญชาติเข้าถึงบริการของสำนักทะเบียนได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการพิจารณาสัญชาติและสิทธิความเป็นพลเมืองเพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่ยังเข้าไม่ถึงกระบวนการพิจารณาสถานะ ให้สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมและเสมอภาค กสม. จึงขอเน้นย้ำคำมั่นดังกล่าวที่สมควรจะต้องผลักดันไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง คือการสนับสนุนและขจัดอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อให้คนไร้รัฐไร้สัญชาติทุกกลุ่มได้มีสถานะบุคคลตามกฎหมายอันเป็นการประกันการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและรัฐสวัสดิการที่พลเมืองทุกคนสมควรได้รับ” กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าว
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
6 ตุลาคม 2565
05-10-65-Press-release-แถลงข่าว-36-2565_.pdf
06/10/2565
เอกสารประกอบ :
05-10-65-Press-release-แถลงข่าว-36-2565_.pdf
Sorry, your browser does not support JavaScript!
© 2015 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ. All Right Reserved.
นโยบายเว็ปไซต์
|
นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์
.
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด
4903598
คน
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
30
คน
Sorry, your browser does not support JavaScript!
เกี่ยวกับเรา
1.1 คณะกรรมการ
1.1.1 ประวัติความเป็นมา
1.1.2 อำนาจหน้าที่
1.1.3 ประวัติคณะกรรมการ (ชุดปัจจุบัน)
1.2 คณะอนุกรรมการ
1.2.1 โครงสร้างคณะอนุกรรมการ
1.2.2 คณะอนุกรรมการชุดต่างๆ
1.2.3 ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ
1.3 สำนักงาน
1.3.1 โครงสร้างสำนักงาน
1.3.2 ผู้บริหาร
1.3.3 ประกาศแบ่งส่วนราชการ
1.3.4 วิสัยทัศน์ พันธกิจและแผนยุทธศาสตร์
1.3.5 ระเบียบและประกาศ กสม.
1.3.6 ประมวลจริยธรรม
1.3.7 ข้อมูลตาม พรบ.ข่าวสารของราชการ
1.3.8 ตราสัญลักษณ์และความหมาย
ผลการดำเนินงาน
2.1. ข้อมูลสถิติที่น่าสนใจ
2.1.1. สถิติการรับเรื่องร้องเรียน
2.1.2. สถิติการติดตามการดำเนินงานตามรายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
2.1.3. (สถิติอื่นๆ)
2.2. รายงานผลการตรวจสอบที่น่าสนใจ
2.2.1 รายงานผลการพิจารณา/ประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
2.2.2 มีมาตรการแก้ไข
2.2.3 มีมาตรการแก้ไขและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
2.2.4 มีมาตรการแก้ไขและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
2.2.5 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย (และมติคณะรัฐมนตรีต่อ ข้อเสนอแนะ)
2.2.6 มีมาตรการแก้ไข ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
2.3. ผลการติดตามการดำเนินงานตามรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
2.3.1 มาตรการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชน
2.3.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
2.3.3 ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย
2.4. ผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
2.4.1 รายงานการติดตามการปฎิบัติตามพันธะกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
2.4.2 ผลการประชุมในต่างประเทศ
2.5. แถลงการณ์/ข่าวแจก/จดหมายเปิดผนึก
2.6. รายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
2.7. มติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านการบริหาร
2.8. สรุปผลการประชุม/สัมมนา/เวทีทางวิชาการ/ระดมความเห็น/การฝึกอบรม
2.9. รางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น
2.10. กสม ฟอรั่ม
ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
3.1 กฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน
3.1.1 ธรรมนูญ
3.1.2 พระราชบัญญัติ / พระราชกฤษฎีกา
3.1.3 กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน
3.2 สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
3.2.1 แนวปฎิบัติ มาตรฐาน และกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
3.2.2 กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
3.3 เอกสารเผยแพร่
3.3.1 บทความของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
3.3.2 สื่อสิงพิพ์
3.3.3 งานศึกษา / งานวิจัย
3.3.4 มุมมองสิทธิ์
3.3.5 เอกสารอื่นๆ
3.4 สื่อด้านสิทธิมนุษยชน
3.4.1 วีดีโอเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
3.4.2 เพลงเพื่อสิทธิมนุษยชน
3.4.3 ผังรายการส่งเสริมความรู้สิทธิมนุษยชน
3.4.4 เสียงสัมมนาที่น่าสนใจ
การรับเรื่องร้องเรียน / บริการประชาชน
4.1 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการร้องเรียน
4.2 ผังการปฏิบัติหน้าที่/กระบวนการตรวจสอบของ กสม.
4.3 รับเรื่องร้องเรียนออนไลน์
4.4 ติดตามเรื่องร้องเรียน
4.5 คำถามที่พบบ่อย
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศและต่างประเทศ
ข่าวสมัครงาน
ข่าวกิจกรรม
ติดตามข่าวสาร
Facebook
Youtube
ติดต่อเรา
ติดต่อเรื่องทั่วไป
รับเรื่องร้องเรียน
ติชมเว็บไซต์/แลกลิ้งค์
แผนที่
สมัครรับข่าวสารทางอีเมล
เกี่ยวกับเรา
คณะกรรมการ
ความเป็นมา
หน้าที่และอำนาจ
ประวัติคณะกรรมการ
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์และทิศทางการดำเนินงาน
สำนักงาน
ความเป็นมา
โครงสร้างสำนักงาน
ผู้บริหาร
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาพัสดุ
คู่มือและมาตรฐานการปฏิบัติงาน
แผนปฏิบัติการประจำปี ผลการปฏิบัติงาน คำรับรองการปฏิบัติราชการฯ และแผนพัฒนาหน่วยงาน
แผนงานต่างๆ
ผลการปฏิบัติงานต่างๆ
ค่านิยมองค์กร
มาตรฐานทางจริยธรรม
หน่วยตรวจสอบภายใน
เกี่ยวกับเรา
การดำเนินงาน
คณะกรรมการตรวจสอบ
กฎหมาย/ระเบียบ/หลักเกณฑ์
ดาวน์โหลด
เครื่องหมายราชการและความหมาย
ผลการดำเนินงาน
ข้อมูลสถิติที่น่าสนใจ
สถิติเรื่องร้องเรียน
สถิติเรื่องร้องเรียนปีล่าสุด
สถิติเรื่องร้องเรียนปีที่ผ่านมา
สถิติรายงานผลและการติดตาม
รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีต่างๆ
รายงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
รายงาน AICHR
รายงานคู่ขนานตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
รายงานตามกระบวนการ UPR
รายงานกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน/ผลการประชุมอื่นๆ
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
กสม. กับเหตุการณ์สำคัญ
แถลงการณ์
ข่าวประชาสัมพันธ์
จดหมายเปิดผนึก
รางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น
มติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านบริหาร
สรุปผลการประชุม/สัมมนา/เวทีทางวิชาการ/ระดมความเห็น/การฝึกอบรม
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
การประเมินสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
การเข้ารับการประเมินสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภายใต้กรอบความร่วมมือเครือข่ายพันธมิตรระดับโลกว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (Global Alliance of National Human Right
ข้อมูลที่ถูกต้องกรณีการลดสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
หลักการปารีส
พันธกรณีระหว่างประเทศ
แนวปฏิบัติ มาตรฐาน และกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
เอกสารเผยแพร่
บทความของ กสม.
สื่อแนะนำ
มุมมองสิทธิ์
สิทธิมนุษยชนศึกษา
วารสารกฎหมายสิทธิมนุษยชน
วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน
เอกสารอื่นๆ
สื่อด้านสิทธิมนุษยชน
วีดีโอเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
เพลงเพื่อสิทธิมนุษยชน
ความรู้/บทความวิชาการจากแหล่งต่าง ๆ
การรับเรื่องร้องเรียน / บริการประชาชน
E-services
ติดตามเรื่องร้องเรียน
แบบฟอร์มขอข้อมูลข่าวสารของราชการออนไลน์
แอปพลิเคชันมีสิทธิ์
ยื่นเรื่องร้องเรียนออนไลน์
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการร้องเรียน
ผังการปฏิบัติหน้าที่/กระบวนการตรวจสอบของ กสม.
ยื่นคำขอรับจดแจ้งองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและสภาวิชาชีพ
แจ้งข้อมูลสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
บริการของศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
เว็บไซต์เพื่อเป็นองค์กรแห่งธรรมาภิบาลและร่วมต่อต้านการทุจริต
ศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
กฏหมาย
กฎหมายที่เปิดรับฟังความคิดเห็น
ประกาศรายชื่อกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบ
หนังสือกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566)
รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ
ประกาศองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
มาตรฐานและข้อกำหนดทางจริยธรรม
ระเบียบที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศเรื่อง การขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิ
แนวปฎิบัติที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คำสั่งที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ระเบียบที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ข้อบังคับที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ข่าว
ข่าว กสม.
ข่าวกิจกรรมสำคัญและงานกิจกรรมพิเศษ
ข่าวประชาสัมพันธ์ / ข่าวสำนักงาน กสม.
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างรายเดือน (สขร.1)
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างรายปี
ข่าวสมัครงาน
ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงิน
ติดต่อเรา
Sorry, your browser does not support JavaScript!