-
A
A
A
+
-
A
A
A
+
Sorry, your browser does not support JavaScript!
Search for:
Sorry, your browser does not support JavaScript!
Sorry, your browser does not support JavaScript!
เกี่ยวกับเรา
คณะกรรมการ
ความเป็นมา
หน้าที่และอำนาจ
ประวัติคณะกรรมการ
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์และทิศทางการดำเนินงาน
สำนักงาน
ความเป็นมา
โครงสร้างสำนักงาน
ผู้บริหาร
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาพัสดุ
คู่มือและมาตรฐานการปฏิบัติงาน
แผนปฏิบัติการประจำปี ผลการปฏิบัติงาน คำรับรองการปฏิบัติราชการฯ และแผนพัฒนาหน่วยงาน
แผนงานต่างๆ
ผลการปฏิบัติงานต่างๆ
ค่านิยมองค์กร
มาตรฐานทางจริยธรรม
หน่วยตรวจสอบภายใน
เกี่ยวกับเรา
การดำเนินงาน
คณะกรรมการตรวจสอบ
กฎหมาย/ระเบียบ/หลักเกณฑ์
ดาวน์โหลด
เครื่องหมายราชการและความหมาย
ผลการดำเนินงาน
ข้อมูลสถิติที่น่าสนใจ
สถิติเรื่องร้องเรียน
สถิติเรื่องร้องเรียนปีล่าสุด
สถิติเรื่องร้องเรียนปีที่ผ่านมา
สถิติรายงานผลและการติดตาม
รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีต่างๆ
รายงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
รายงาน AICHR
รายงานคู่ขนานตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
รายงานตามกระบวนการ UPR
รายงานกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน/ผลการประชุมอื่นๆ
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
กสม. กับเหตุการณ์สำคัญ
แถลงการณ์
ข่าวประชาสัมพันธ์
จดหมายเปิดผนึก
รางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น
มติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านบริหาร
สรุปผลการประชุม/สัมมนา/เวทีทางวิชาการ/ระดมความเห็น/การฝึกอบรม
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
การประเมินสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
การเข้ารับการประเมินสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภายใต้กรอบความร่วมมือเครือข่ายพันธมิตรระดับโลกว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (Global Alliance of National Human Right
ข้อมูลที่ถูกต้องกรณีการลดสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
หลักการปารีส
พันธกรณีระหว่างประเทศ
แนวปฏิบัติ มาตรฐาน และกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
กรอบความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANF)
กรอบความร่วมมือในเอเชีย-แปซิฟิก (APF)
กรอบความร่วมมือในระดับโลก (ICC)
เอกสารเผยแพร่
บทความของ กสม.
สื่อแนะนำ
มุมมองสิทธิ์
สิทธิมนุษยชนศึกษา
วารสารกฎหมายสิทธิมนุษยชน
วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน
เอกสารอื่นๆ
สื่อด้านสิทธิมนุษยชน
วีดีโอเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
เพลงเพื่อสิทธิมนุษยชน
ความรู้/บทความวิชาการจากแหล่งต่าง ๆ
การรับเรื่องร้องเรียน / บริการประชาชน
E-services
ติดตามเรื่องร้องเรียน
แบบฟอร์มขอข้อมูลข่าวสารของราชการออนไลน์
แอปพลิเคชันมีสิทธิ์
ยื่นเรื่องร้องเรียนออนไลน์
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการร้องเรียน
ผังการปฏิบัติหน้าที่/กระบวนการตรวจสอบของ กสม.
ยื่นคำขอรับจดแจ้งองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและสภาวิชาชีพ
แจ้งข้อมูลสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
บริการของศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
เว็บไซต์เพื่อเป็นองค์กรแห่งธรรมาภิบาลและร่วมต่อต้านการทุจริต
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
กฏหมาย
กฎหมายที่เปิดรับฟังความคิดเห็น
ประกาศรายชื่อกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบ
หนังสือกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566)
รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ
พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติอื่น
ประมวลกฎหมาย
ประกาศองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
มาตรฐานและข้อกำหนดทางจริยธรรม
ระเบียบที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศเรื่อง การขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิ
แนวปฎิบัติที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คำสั่งที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ระเบียบที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ข้อบังคับที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ติดต่อเรา
Sorry, your browser does not support JavaScript!
ผลการดำเนินงาน
กสม. กับเหตุการณ์สำคัญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
กสม. แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 22/2565 กสม. ชี้กรณีสลายการชุมนุมเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น เจ้าห
ผลการดำเนินงาน
View : 151
กสม. แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 22/2565 กสม. ชี้กรณีสลายการชุมนุมเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น เจ้าหน้าที่ละเมิดสิทธิผู้ชุมนุมและเสรีภาพสื่อมวลชน - ลงพื้นที่รับฟังปัญหาของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่น จ.ตราด ชงแก้ไขระเบียบที่สร้างภาระในการขอสถานะ
วันที่ 16 มิถุนายน 2565 เวลา 10.30 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดย
นายวสันต์ ภัยหลีกลี้
และ
นางสาวปิติกาญจน์ สิทธิเดช
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ครั้งที่ 22/2565 โดยมีวาระสำคัญ ดังนี้
1
. กสม. เผยผลการตรวจสอบเหตุสลายการชุมนุมเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นเมื่อเดือนธันวาคม
2564
– ชี้เจ้าหน้าที่ละเมิดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ แนะ สตช. ทบทวนแนวปฏิบัติในการจัดการการชุมนุม
ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนขอให้ตรวจสอบกรณีเหตุการณ์สลายการชุมนุมของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2564 ณ บริเวณทำเนียบรัฐบาล สืบเนื่องจากเครือข่ายฯ กว่า 30 คน ได้เดินทางมารวมตัวเพื่อทวงสัญญาจากรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จังหวัดสงขลา โดยให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) แบบมีส่วนร่วมก่อนดำเนินการโครงการ นั้น
กสม. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่ากรณีดังกล่าวมีปัญหาที่ต้องพิจารณาว่า เหตุการณ์การสลายการชุมนุมของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น เจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัดกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน ผู้ถูกร้อง และเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลดุสิต มีการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นหรือไม่ โดยพิจารณาออกเป็น 3 ประเด็น ได้ดังนี้
ประเด็นที่หนึ่ง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการเข้าควบคุมตัวผู้ชุมนุมของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น มีการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่
เห็นว่า การชุมนุมของเครือข่ายฯ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2564 เป็นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นไปโดยสงบปราศจากอาวุธที่ไม่ถือว่าเป็นความรุนแรง ในส่วนของเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมการชุมนุมเป็นไปตามแผนปฏิบัติการ โดยมีการเจรจากับผู้ชุมนุมหลายครั้งเพื่อขอให้เคลื่อนย้ายไปชุมนุมนอกบริเวณพื้นที่ทำเนียบรัฐบาล แต่เมื่อล่วงเลยเวลาที่กำหนดให้ผู้ชุมนุมเคลื่อนย้าย กลับใช้วิธีเข้าสลายการชุมนุมและควบคุมตัวผู้ชุมนุมเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยอ้างว่า เนื่องจากในวันที่ 7 ธันวาคม 2564 เป็นวันเปิดทำการ จะมีการใช้เส้นทางหนาแน่น และการชุมนุมมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 การชุมนุมดังกล่าวเป็นการชุมนุมโดยผิดกฎหมาย กสม. เห็นว่า เหตุผลตามที่กล่าวอ้างนี้ยังไม่อาจพิจารณาได้ว่า เป็นเหตุแห่งความจำเป็นในการเข้าสลายการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมของผู้ชุมนุมเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น และกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของผู้ชุมนุมตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้รับรองและคุ้มครองไว้ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ประเด็นที่สอง การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดุสิตต่อผู้ชุมนุมมีการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่
เห็นว่า ในการพิจารณาดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมจากการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามรัฐธรรมนูญ แม้ว่าจะอยู่ภายใต้การบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจบังคับใช้กฎหมายควรพิจารณาถึงความได้สัดส่วนเพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุม ตลอดจนไม่กระทำการอันใดที่เป็นการจำกัดหรือสร้างภาระแก่ผู้ใช้เสรีภาพดังกล่าวเกินสมควรแก่เหตุ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า พนักงานสอบสวนได้สอบปากคำและแจ้งข้อกล่าวหาผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมตัวในฐานความผิดตามกฎหมายหลายฉบับ ได้แก่ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 ส่งผลให้ผู้ชุมนุมที่ถูกจับต้องเดินทางไปรายงานตัวตามหมายเรียกอยู่เป็นระยะจนถึงปัจจุบัน กสม. เห็นว่า การดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมกรณีนี้ไม่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เนื่องจากการชุมนุมมีวัตถุประสงค์เพื่อการติดตามทวงถามการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลต่อโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ซึ่งสุดท้ายแล้วรัฐบาลได้รับข้อเสนอของผู้ชุมนุมไว้เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง การกระทำของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำเกินสมควรแก่เหตุและสร้างภาระแก่ผู้ใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามรัฐธรรมนูญ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ประเด็นที่ 3 การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในเหตุการณ์การชุมนุมของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น มีการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อสื่อมวลชนหรือไม่
จากการตรวจสอบปรากฏข้อเท็จจริง พบว่า ในการสลายการชุมนุมเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ประกาศให้สื่อมวลชนออกจากพื้นที่การชุมนุมและมีการใช้อุปกรณ์ยิงแสงเลเซอร์ส่องไปยังสื่อมวลชนและอุปกรณ์ถ่ายภาพ ทำให้สื่อมวลชนไม่สามารถถ่ายภาพขณะเจ้าหน้าที่เข้าปฏิบัติการสลายการชุมนุมและควบคุมตัวผู้ชุมนุมได้ ทั้งยังอาจทำให้เซ็นเซอร์กล้องได้รับ
ความเสียหายและมีผลต่อการมองเห็นชั่วคราวของดวงตาได้ ดังนั้น หากการใช้สิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนอยู่ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้ เจ้าหน้าที่จะต้องอำนวยความสะดวกและไม่ปิดกั้นสื่อมวลชนในการทำหน้าที่รายงานสถานการณ์และข้อเท็จจริงอย่างเสรี โดยไม่สร้างอุปสรรคอันเป็นการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนเกินความจำเป็น จึงเห็นว่า การกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ เป็นการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้รับรองและคุ้มครองไว้ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 จึงมีข้อเสนอแนะแนวทางในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สรุปได้ดังนี้
1) ทบทวนแนวทางปฏิบัติในการควบคุมและจัดการการชุมนุมซึ่งจะต้องไม่กระทำการใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ชุมนุม และจัดสถานที่ที่ปลอดภัยให้แก่ผู้ชุมนุมที่ใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ
2) กำชับแนวทางปฏิบัติต่อการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมอันสืบเนื่องมาจากการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ โดยให้ดำเนินการอย่างระมัดระวังซึ่งต้องคำนึงถึงความได้สัดส่วนและความจำเป็นตามแต่ละกรณี โดยหลีกเลี่ยงการตั้งข้อหาหรือฐานความผิดที่เป็นการจำกัดหรือสร้างภาระแก่ผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพดังกล่าวเกินสมควรแก่เหตุ
3) กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมและดูแลสถานการณ์การชุมนุม อำนวยความสะดวกและเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนทำหน้าที่รายงานสถานการณ์และข้อเท็จจริงอย่างเสรี โดยไม่สร้างอุปสรรคอันเป็นการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่เกินความจำเป็น หากการใช้สิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนอยู่ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายงานผลการตรวจสอบกรณีนี้
2. กสม. ลงพื้นที่จังหวัดตราดรับฟังสถานการณ์ปัญหาของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่น – ภาคประชาสังคมชงแก้ไขระเบียบที่สร้างภาระให้แก่ผู้ยื่นคำขอเกินจำเป็น
เมื่อวันที่ 8 – 10 มิถุนายน 2565 นางสาวปิติกาญจน์ สิทธิเดช และผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาติ เศรษฐมาลินี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมด้วยนางเตือนใจ ดีเทศน์ ผู้ทรงคุณวุฒิของ กสม. ด้านสิทธิของกลุ่มเปราะบาง และกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 และเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม. ลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์และประชุมหารือร่วมกับนายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ผู้แทนกรมการปกครอง และเครือข่ายภาคประชาสังคมกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นในอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด กว่า 300 คน ถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาสถานะของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่น ณ จังหวัดตราด
กสม. ได้รับรายงานว่า กรมการปกครองได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่น โดยสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติและเอกสารแสดงตนของผู้ที่มีเชื้อสายไทยที่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นตามกฎหมาย จำนวน 17,903 คน ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตราด จังหวัดตาก จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดระนอง ทั้งนี้ กรมการปกครองได้อนุมัติสัญชาติไทยให้แก่กลุ่มดังกล่าวไปแล้วกว่าร้อยละ 70 เฉพาะในพื้นที่จังหวัดตราดได้รับการรับรองสถานะเป็นคนไทยพลัดถิ่นแล้ว จำนวน 3,079 คน อย่างไรก็ดี ยังคงเหลือกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้ยื่นคำขอรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นอีกถึง 1,869 คน
จากการรับฟังสถานการณ์ของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นในจังหวัดตราด พบว่ามีกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นที่ประสบปัญหาในการขอสถานะ อาทิ กลุ่มที่ได้ยื่นเอกสารหลักฐานแล้วแต่ตกหล่นหรือถูกจำหน่ายทางทะเบียน กลุ่มที่ยังไม่ได้ยื่นเอกสารเลยเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการยื่นคำขอและเงื่อนไขตามกฎหมาย ขณะที่บางกลุ่มไม่มีเอกสาร หลักฐานหรือเครือญาติตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นได้ สำหรับอุปสรรคในการพิจารณารับรองสถานะ อาทิ ความยุ่งยากของขั้นตอนในการพิจารณา ซึ่งต้องใช้พยานหลักฐานจำนวนมาก ทั้งพยานบุคคล พยานเอกสาร และผังเครือญาติ ความล่าช้าในการดำเนินการระดับพื้นที่ ซึ่งทำให้จำนวนคำขอที่จะส่งต่อให้คณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นของกรมการปกครองพิจารณารับรองมีจำนวนน้อยและไม่ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดหากจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจสารพันธุกรรม DNA เพื่อพิสูจน์ความเชื่อมโยงเครือญาติ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้คนไทยพลัดถิ่นจำนวนมากยังไม่สามารถเข้าสู่ระบบการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นได้ ขณะที่จำนวนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระดับอำเภอเพื่อรับคำขอและดำเนินการตามกระบวนการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นมีจำนวนไม่เพียงพอกับปริมาณคำขอ อีกทั้งมีการโยกย้ายเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่บ่อยครั้ง ทำให้การปฏิบัติงานขาดความต่อเนื่อง และขาดผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
ในการนี้ กสม. ได้หารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ซึ่งได้มอบนโยบายให้ส่วนราชการในจังหวัดแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่น โดยให้ทุกอำเภอในจังหวัดตราดเร่งสำรวจและจัดทำข้อมูลทะเบียนสถานะแก่กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นที่ยังคงตกค้างและกลุ่มที่ยังไม่ได้ยื่นคำขอให้เป็นปัจจุบัน รวมถึงให้จัดทำแผนดำเนินงานและเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของกลุ่มคนไทย
พลัดถิ่นร่วมกัน
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังเสนอให้กรมการปกครองพิจารณาปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกลไกการพิจารณารับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยไม่สร้างภาระแก่ผู้ยื่นคำขอเกินจำเป็น ทั้งนี้ อาจจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบการดำเนินงานในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูล ติดตาม และประเมินผลการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลให้แก่กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นได้อย่างเป็นระบบ
“สิทธิในสถานะบุคคลเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐต้องให้การรับรอง เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ได้ อาทิ สิทธิในการศึกษา สิทธิในการรักษาพยาบาล เสรีภาพในการเดินทาง และการได้รับความคุ้มครองทางสังคมในการทำงาน ทั้งนี้ กสม. จะติดตามสถานการณ์ของผู้มีปัญหาสถานะบุคคล เพื่อประสานการคุ้มครองและส่งเสริมให้รัฐดำเนินมาตรการเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบและประกันสิทธิของบุคคลทุกคนในประเทศตามหลักสิทธิมนุษยชนต่อไป” กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าว
ดาวน์โหลด PDF
16/06/2565
เอกสารประกอบ :
16-06-65-Press-release-แถลงข่าว-22-2565_.pdf
Sorry, your browser does not support JavaScript!
© 2015 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ. All Right Reserved.
นโยบายเว็ปไซต์
|
นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์
.
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด
5154076
คน
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
55
คน
Sorry, your browser does not support JavaScript!
เกี่ยวกับเรา
1.1 คณะกรรมการ
1.1.1 ประวัติความเป็นมา
1.1.2 อำนาจหน้าที่
1.1.3 ประวัติคณะกรรมการ (ชุดปัจจุบัน)
1.2 คณะอนุกรรมการ
1.2.1 โครงสร้างคณะอนุกรรมการ
1.2.2 คณะอนุกรรมการชุดต่างๆ
1.2.3 ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ
1.3 สำนักงาน
1.3.1 โครงสร้างสำนักงาน
1.3.2 ผู้บริหาร
1.3.3 ประกาศแบ่งส่วนราชการ
1.3.4 วิสัยทัศน์ พันธกิจและแผนยุทธศาสตร์
1.3.5 ระเบียบและประกาศ กสม.
1.3.6 ประมวลจริยธรรม
1.3.7 ข้อมูลตาม พรบ.ข่าวสารของราชการ
1.3.8 ตราสัญลักษณ์และความหมาย
ผลการดำเนินงาน
2.1. ข้อมูลสถิติที่น่าสนใจ
2.1.1. สถิติการรับเรื่องร้องเรียน
2.1.2. สถิติการติดตามการดำเนินงานตามรายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
2.1.3. (สถิติอื่นๆ)
2.2. รายงานผลการตรวจสอบที่น่าสนใจ
2.2.1 รายงานผลการพิจารณา/ประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
2.2.2 มีมาตรการแก้ไข
2.2.3 มีมาตรการแก้ไขและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
2.2.4 มีมาตรการแก้ไขและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
2.2.5 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย (และมติคณะรัฐมนตรีต่อ ข้อเสนอแนะ)
2.2.6 มีมาตรการแก้ไข ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
2.3. ผลการติดตามการดำเนินงานตามรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
2.3.1 มาตรการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชน
2.3.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
2.3.3 ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย
2.4. ผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
2.4.1 รายงานการติดตามการปฎิบัติตามพันธะกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
2.4.2 ผลการประชุมในต่างประเทศ
2.5. แถลงการณ์/ข่าวแจก/จดหมายเปิดผนึก
2.6. รายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
2.7. มติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านการบริหาร
2.8. สรุปผลการประชุม/สัมมนา/เวทีทางวิชาการ/ระดมความเห็น/การฝึกอบรม
2.9. รางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น
2.10. กสม ฟอรั่ม
ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
3.1 กฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน
3.1.1 ธรรมนูญ
3.1.2 พระราชบัญญัติ / พระราชกฤษฎีกา
3.1.3 กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน
3.2 สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
3.2.1 แนวปฎิบัติ มาตรฐาน และกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
3.2.2 กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
3.3 เอกสารเผยแพร่
3.3.1 บทความของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
3.3.2 สื่อสิงพิพ์
3.3.3 งานศึกษา / งานวิจัย
3.3.4 มุมมองสิทธิ์
3.3.5 เอกสารอื่นๆ
3.4 สื่อด้านสิทธิมนุษยชน
3.4.1 วีดีโอเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
3.4.2 เพลงเพื่อสิทธิมนุษยชน
3.4.3 ผังรายการส่งเสริมความรู้สิทธิมนุษยชน
3.4.4 เสียงสัมมนาที่น่าสนใจ
การรับเรื่องร้องเรียน / บริการประชาชน
4.1 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการร้องเรียน
4.2 ผังการปฏิบัติหน้าที่/กระบวนการตรวจสอบของ กสม.
4.3 รับเรื่องร้องเรียนออนไลน์
4.4 ติดตามเรื่องร้องเรียน
4.5 คำถามที่พบบ่อย
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศและต่างประเทศ
ข่าวสมัครงาน
ข่าวกิจกรรม
ติดตามข่าวสาร
Facebook
Youtube
ติดต่อเรา
ติดต่อเรื่องทั่วไป
รับเรื่องร้องเรียน
ติชมเว็บไซต์/แลกลิ้งค์
แผนที่
สมัครรับข่าวสารทางอีเมล
เกี่ยวกับเรา
คณะกรรมการ
ความเป็นมา
หน้าที่และอำนาจ
ประวัติคณะกรรมการ
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์และทิศทางการดำเนินงาน
สำนักงาน
ความเป็นมา
โครงสร้างสำนักงาน
ผู้บริหาร
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาพัสดุ
คู่มือและมาตรฐานการปฏิบัติงาน
แผนปฏิบัติการประจำปี ผลการปฏิบัติงาน คำรับรองการปฏิบัติราชการฯ และแผนพัฒนาหน่วยงาน
แผนงานต่างๆ
ผลการปฏิบัติงานต่างๆ
ค่านิยมองค์กร
มาตรฐานทางจริยธรรม
หน่วยตรวจสอบภายใน
เกี่ยวกับเรา
การดำเนินงาน
คณะกรรมการตรวจสอบ
กฎหมาย/ระเบียบ/หลักเกณฑ์
ดาวน์โหลด
เครื่องหมายราชการและความหมาย
ผลการดำเนินงาน
ข้อมูลสถิติที่น่าสนใจ
สถิติเรื่องร้องเรียน
สถิติเรื่องร้องเรียนปีล่าสุด
สถิติเรื่องร้องเรียนปีที่ผ่านมา
สถิติรายงานผลและการติดตาม
รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีต่างๆ
รายงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
รายงาน AICHR
รายงานคู่ขนานตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
รายงานตามกระบวนการ UPR
รายงานกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน/ผลการประชุมอื่นๆ
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
กสม. กับเหตุการณ์สำคัญ
แถลงการณ์
ข่าวประชาสัมพันธ์
จดหมายเปิดผนึก
รางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น
มติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านบริหาร
สรุปผลการประชุม/สัมมนา/เวทีทางวิชาการ/ระดมความเห็น/การฝึกอบรม
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
การประเมินสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
การเข้ารับการประเมินสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภายใต้กรอบความร่วมมือเครือข่ายพันธมิตรระดับโลกว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (Global Alliance of National Human Right
ข้อมูลที่ถูกต้องกรณีการลดสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
หลักการปารีส
พันธกรณีระหว่างประเทศ
แนวปฏิบัติ มาตรฐาน และกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
เอกสารเผยแพร่
บทความของ กสม.
สื่อแนะนำ
มุมมองสิทธิ์
สิทธิมนุษยชนศึกษา
วารสารกฎหมายสิทธิมนุษยชน
วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน
เอกสารอื่นๆ
สื่อด้านสิทธิมนุษยชน
วีดีโอเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
เพลงเพื่อสิทธิมนุษยชน
ความรู้/บทความวิชาการจากแหล่งต่าง ๆ
การรับเรื่องร้องเรียน / บริการประชาชน
E-services
ติดตามเรื่องร้องเรียน
แบบฟอร์มขอข้อมูลข่าวสารของราชการออนไลน์
แอปพลิเคชันมีสิทธิ์
ยื่นเรื่องร้องเรียนออนไลน์
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการร้องเรียน
ผังการปฏิบัติหน้าที่/กระบวนการตรวจสอบของ กสม.
ยื่นคำขอรับจดแจ้งองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและสภาวิชาชีพ
แจ้งข้อมูลสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
บริการของศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
เว็บไซต์เพื่อเป็นองค์กรแห่งธรรมาภิบาลและร่วมต่อต้านการทุจริต
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
กฏหมาย
กฎหมายที่เปิดรับฟังความคิดเห็น
ประกาศรายชื่อกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบ
หนังสือกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566)
รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ
พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติอื่น
ประมวลกฎหมาย
ประกาศองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
มาตรฐานและข้อกำหนดทางจริยธรรม
ระเบียบที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศเรื่อง การขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิ
แนวปฎิบัติที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คำสั่งที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ระเบียบที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประกาศที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ข้อบังคับที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ข่าว
ข่าว กสม.
ข่าวกิจกรรมสำคัญและงานกิจกรรมพิเศษ
ข่าวประชาสัมพันธ์ / ข่าวสำนักงาน กสม.
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างรายเดือน (สขร.1)
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างรายปี
ข่าวสมัครงาน
ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงิน
ติดต่อเรา
Sorry, your browser does not support JavaScript!