Sorry, your browser does not support JavaScript!
-
A A A
+
  • youtube
  • facebook
  • English Thai
ข่าวประชาสัมพันธ์ / ข่าวสำนักงาน กสม.
ข่าว View : 7227
สิทธิแรงงานในสถานการณ์โรคโควิด 19
          1 พฤษภาคม เป็น “วันแรงงานสากล” และ “วันแรงงานแห่งชาติ” ในแต่ละปีผู้ใช้แรงงานไทย จะจัดกิจกรรม รวมทั้งการยื่นข้อเรียกร้องต่าง ๆ ต่อนายจ้างและรัฐ เพื่อให้มีการจ้างงานที่เป็นธรรมหรือได้รับสิทธิสวัสดิการ ตามที่ควรได้รับ
          อย่างไรก็ดี การจัดกิจกรรม ในปีนี้จำเป็นต้องยุติเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ส่งผลให้รัฐต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค
          การเลิกจ้าง การให้หยุดงาน การให้ผู้มีความเสี่ยงต่อโรคจำเป็นต้องกักตัว ฯลฯ กลายเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อแรงงานทุกกลุ่ม ส่งผลให้แรงงานจำนวนมากสูญเสียรายได้ หรือได้รับความลำบากทางเศรษฐกิจ
          คำถามสำคัญคือ แรงงานกลุ่มต่าง ๆ มีสิทธิได้รับการชดเชยเยียวยาอย่างไรบ้าง เมื่อต้องถูกเลิกจ้างหรือต้องหยุดงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
          คำตอบคือ การชดเชยเยียวยาแรงงานในแต่ละกลุ่มนั้นแตกต่างกันไปตามเงื่อนไข ต่อไปนี้
          1. ลูกจ้างที่มีนายจ้างและส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน (ผู้ประกันตนตามมาตรา 33)
                   - กรณีไม่ได้ทำงาน เพราะต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังโรค ประกันสังคมชดเชย 62% ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน
                   - กรณีที่นายจ้างต้องปิดกิจการชั่วคราว (กรณีนายจ้างมิได้จ่ายเงินให้กับลูกจ้างในระหว่างหยุดกิจการ ตามมาตรา 75 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน) ประกันสังคมชดเชย 62% ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน
                   - กรณีถูกเลิกจ้าง เพราะผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจ ประกันสังคมชดเชย 70% ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 200 วัน
                   - กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีระยะเวลาแน่นอนหรือเลิกจ้างตามกำหนดเวลา ประกันสังคมชดเชย 45% ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน
          2. ลูกจ้างที่ส่งเงินสมทบน้อยกว่า 6 เดือน ลูกจ้างที่ลาออกจากงานหรือลูกจ้างนอกระบบที่สมัครใจเป็นผู้ประกันตน (ตามมาตรา 39 และ 40) จะได้รับการชดเชยโดยลงทะเบียนรับการเยียวยาตามมาตรการของรัฐบาล (อย่างไรก็ดี มีรายงานว่าแรงงานจำนวนไม่น้อยพบข้อติดขัดในเงื่อนไขของการเข้าถึงมาตรการเยียวยา)
          นี่คือข้อมูลเบื้องต้นที่แรงงาน/ลูกจ้างทุกท่านควรทราบเพื่อขอรับการชดเชยเยียวยาตาม “สิทธิ” ที่พึงได้ดังที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (ICESCR) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม ระบุไว้ใจความว่า รัฐมี “หน้าที่” ในการทำให้ประชาชนทุกคนเข้าถึง “สิทธิ” “สวัสดิการ” และ “การประกันสังคม”
 ____________________________________
อ้างอิง
          - กฎกระทรวงแรงงาน เรื่อง การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. 2563ข้อ 9
          - กฎกระทรวงแรงงาน เรื่อง การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานอันเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจ พ.ศ. 2563
          - กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (ICESCR), ข้อ 9
          - พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
          - พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533


© 2015 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ. All Right Reserved.
นโยบายเว็ปไซต์ | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์.

  ipv6 ready 
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด
5374898
คน
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
1749
คน